ไหว้พระ ทำบุญ วัดโบสถ์อินทรสารเพชร

วัดในกรุงเทพ ที่น่าไปทำบุญ ไหว้พระ วัดโบสถ์อินทรสารเพชร (วัด-โบด-อิน-ทะ-ระ-สาน-เพด) แปลว่า จดหมายข้อความอันประเสริฐจากพระอินทร์สู่โบสถ์วัด เขตวิสุงคามสีมาประวัติโดยย่อพอสังเขป๛วัดโบสถ์อินทรสารเพชร สันนิษฐานน่าจะสร้างขึ้นในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310จากสิ่งก่อสร้างตัวโบสถ์ที่ออกแบบเป็นรูปเรือพระประธานองค์ใหญ่ที่มีการหล่อด้วยสัมฤทธิ์รมดำทั้งองค์ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่างฝีมือจากลาว (สปป.ลาว) ด้วยพุทธลักษณะที่มีพระพักตร์เล็ก พระวรกายใหญ่ตั้งตรงขัดสมาธิเพชรประดิษฐานในโบสถ์ที่มีทางเข้าเล็กเพราะในสมัยอยุธยานิยมสร้างพระประธานองค์ใหญ่และสร้างโบสถ์คลุมพระประธานองค์พระประธานมีพระพุทธสาวกเคียงข้างซ้ายขวา ภายนอกโบสถ์ยังมีวิหารพระพุทธรูปนั่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายพระปรางค์เลไลย์และพระพุทธรูป-นอนที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธไสยยาสที่วัดพระเชตุพนอีกด้วยเรื่องเล่าขานน่าจะเริ่มต้นในช่วงปลายกรุงธนบุรีปีพ.ศ.2400(ไม่มีหลักฐานแน่ชัด มีเพียงการถวายวิสุงคามสีมาท่ีจดลงบันทึก)สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังษีได้ล่องเรือธุดงค์มาในเส้นทางคลองบางหลวงเมื่อท่านมาถึงบริเวณ.วัดแห่งนี้พบเพียงโบสถ์ร้างมีเพียงพระประธานหลวงวงพ่อดำตั้งเด่นอยู่ด้านใน ไม่มีพระและเณร ในขณะนั้นสมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสีจึงมีดำริให้บูรณะวัดนี้ ด้วยแรงศรัทธาจากชาวบ้านแถวนั้น จึงช่วยกันบูรณะและเรียกชื่อวัดตามสมเด็จพุฒาจารย์โตว่า “วัดโบสถ์” ส่วนคำว่าอินทรสารเพชร น่าจะมาจากสถาปัตยกรรม และศิลปะกรรมต่าง ๆ ที่ตกแต่ง เพราะลักษณะการสร้างโบสถ์หลังนี้เป็นรูปเรือมีประตูหน้าเพียงด้านเดียวซึ่งเชื่อว่าเป็นโบสถ์มหาอุตต์ที่ใช้ประกอบพิธีศาสนกิจแล้วยังใช้ประกอบพิธีพุทธาเทวาภิเษกจะเกิดความเข้มขลังเป็นเท่าทวีคูณยังมีรูปเทวดานางฟ้าและพระอินทร์อกขระยันต์สนตราประจำประตู ในส่วนด้านหน้าและด้านหลังของโบสถ์มีพระปรางค์ตั้งเด่นซึ่งพระปรางค์องค์ด้านหน้ามีลักษณะสถาปัตยกรรมการก่อสร้างคล้ายกับพระปรางค์วัดอรุณฯ ในลักษณะย่อส่วนลงมายังมีประวัติความเชื่อต่อมาหลังจากสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านได้กล่าวขานนามวัดนี้ว่า วัดโบสถ์อินทรสารเพชร(สารจากพระอินทร์)คือเรื่องของตำนานพระปรางค์องค์หน้าโบสถ์ซึ่งในช่วงที่ชาวบ้านได้บูรณะพระปรางค์ ได้พบหน้ากากพระพุทธรูปเพียงครึ่งหน้าวางพิงพระปรางค์ ชาวบ้านที่พบเห็นหวาดกลัว จึงนำหน้ากากนี้ไปติดไว้ระหว่างกลางหน้าประตูโบสถ์มาจนถึงทุกวันนี้ปีพ.ศ.2496(ตามหลักฐานรอยเขียนที่เพดานโบสถ์.วภ2496)ได้มีการบูรณะซ่อมแซมโบสถ์จากโบสถ์ ไม่มี หน้าต่าง ขยายยืดออกเป็น 8 หน้าต่าง และเพิ่มประตูหลัง ตามประวัติที่ได้เล่าขานสืบทอดต่อกันมา อดีตเจ้าอาวาสคือ หลวงพ่อเส่ง (ที่ระบุไว้เป็นรูปปั้น) ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมาจนมีการเปลี่ยนเจ้าอาวาสมาหลายรูป หลายนามแต่ก็ยังมีความเชื่อและคำบอกเล่าของชาวบ้านที่ต่างพากันร่ำลือว่าวัดนี้ มีแรงอาถรรพ์ และสิ่งลี้ลับ มากมาย ยากที่จะบูรณะ จึงทำให้วัดนี้รกร้างมาเป็นระยะเวลากว่าสิบปที่มา cr.https://pantip.com/topic/38072908https://youtu.be/xHT4kQbkQ-g

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559 พระครูธรรมธรธีรพัฒน์ สุวินโย มีมุข ได้รับบัญชาให้เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์อินทรัตน์ศาลเพชร ตามนิมิตท่านว่านัตโบโบยี (เทพทันใจ)ได้ลงมาช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์วัดโบสถ์อินทรลักษณ์สรรเพชญ ท่านจึงเริ่มปรับปรุงภูมิทัศน์และทัศนียภาพทั้งภายในและโดยรอบวัดรวมระยะเวลา3ปี
แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จ ด้วยความเชื่อ และความศรัทธา รวมถึงแรงอาถรรพ์ต่าง ๆ
พระครูธรรมธรธีรพัฒน์สุวินโย(มีมุข)ไม่ได้ย่อท้อจึงคิดดำริในการทะนุบำรุงและต่อยอดพระพุทธศาสนา ด้วยการสร้างถาวรวัตถุ ถาวรสถานและมงคลสถานให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ จนถึงปัจจุบัน ที่มา cr.https://pantip.com/topic/38072908

ดูข้อมูลเพิ่มเติม

พระครูธรรมธรธีรพัฒน์ สุวิโย ปญิญาตรี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี กำลังศึกษา ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้รับการแต่งตั้งเจ้าอาวาส 21 มิถุนายน 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข่าวสาร กิจกรรม

เททองหล่อพระประธาน

พระปางป่าเลไลย์ ขนาด ๓๙ นิ้ว ประดิษฐานในศาล( เนื้อทองเหลือง ณ วัดโบสถ์อินทรสารเพชร แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๕

งานทองหล่อพระประธาน

พระปางป่าเลไลย์ ขนาด ๓๙ นิ้ว ประดิษฐานในศาลา
( เนื้อทองเหลือง )

 

 

ณ วัดโบสถ์อินทรสารเพชร

ในวันจันทร์ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๕

ที่ผ่านมา

ติดต่อเรา วัดโบสถ์อินทรสารเพชร